เมนู

หนึ่ง หรือกุศลใหญ่ ๆ เช่นการให้ของเวลามพราหมณ์เป็นต้น ก็ตาม
เถิด ถ้าปรารถนาวัฏฏสมบัติ จิต ชื่อว่าตั้งไว้ผิด ด้วยอำนาจอิง
วัฏฏะ สามารถนำวัฏฏะเท่านั้นมาให้ หาสามารถนำวิวัฏฏะมาให้ไม่
ฉันนั้นเหมือนกัน. แต่เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า ขอทาน
ของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าตั้งไว้ชอบด้วยอำนาจ
วิวัฏฏะ ย่อมสามารถให้ทั้งพระอรหัตทั้งปัจเจกโพธิฌาณทีเดียว.
สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ปฏิสมฺภิทา วิโมกฺขา จ ยา จ สาวกปารมี
ปจฺเจกโพิ พุทฺธภูมิ สพฺพเมเตน ลพฺภติ.
ปฏิสัมภิทา 1 วิโมกข์ 1 สาวกปารมี 1 ปัจเจก-
โพธิ 1 พุทธภูมิ 1 ทั้งหมดนั้น บุคคลย่อมได้
ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบนั้น.

ก็ในสูตรทั้งสองนี้ ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่จิตอันโทสประทุษร้ายแล้ว. บทว่า
เจตสา เจโต ปริจฺจ ความว่า กำหนดจิตของเขา ด้วยจิตของตน.
บทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต ความว่า พึงเห็นว่า ตั้งอยู่ในนรกนั่นแล

เหมือนถูกนำมาทิ้งไว้ คือวางไว้. บทว่า อปายํ เป็นต้นทั้งหมด เป็นคำ
ไวพจน์ของนรก. จริงอยู่ นรกปราศจากความสุข คือความเจริญ
จึงชื่อว่าอบาย. ภูมิเป็นที่ไป คือเป็นที่แล่นไปแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าทุคคติ. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ที่บุคคลผู้มักทำชั่วตกไป
ไร้อำนาจ. ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่าไม่มีดุจที่น่ายินดี.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปสนฺนํ ได้แก่ ผ่องใสโดยความผ่องใสด้วยศรัทธา.
บทว่า สุคตึ ได้แก่ภูมิเป็นที่ไปแห่งสุข. บทว่า สคฺคํ โลกํ ได้แก่
โลกอันเลอเลิศด้วยสมบัติมีรูปสมบัติเป็นต้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทกรหโท แปลว่า ห้วงน้ำ. บทว่า อาวิโล ได้แก่
ไม่ใส่. บทว่า ลุฬิโต ได้แก่ไม่สะอาด. บทว่า กลลีภูโต แปลว่า
มีเปือกตม.